บริการตรวจภาชนะรับแรงดัน / ถังลม

ตรวจสอบถังลมตามมาตรฐาน

           ภาชนะรับแรงดัน หรือ ถังรับแรงดัน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แพร่หลายในอุตสาหกรรมทั่วไป ที่สามารถพบเห็นได้บ่อยก็คือ ถังลม หม้อน้ำ ถังน้ำยาทำความเย็น ซึ่งถังเหล่านี้เมื่อมีการใช้งานมาระยะหนึ่งจะเกิดการกัดกร่อน ทำให้ถังที่ใช้งานมีความหนาลดลง ซึ่งอัตราการกัดกร่อนจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น พื้นที่ๆ มีความชื้นสูง มีความเป็นกรด รวมถึงชนิดของสารที่บรรจุภายในถังก็จะมีผลต่อการกัดกร่อนของถังรับแรงดันเช่นกัน  ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องจัดให้มีการตรวจและทดสอบว่าถังรับแรงดันสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยอย่างน้อย ทุกๆ 5 ปี หรือตามที่วิศวกรกำหนด โดยวิธีการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายและสามารถทำได้ง่ายคือการตรวจวัดความหนาและการอัดทดสอบแรงดันด้วยน้ำ

การตรวจวัดความหนาถังแรงดัน เนื่องจากมีการใช้งานมาแล้ว 5ปี/ 10ปี ซึ่งมีการกัดกร่อนทั้งภายนอกและภายในซึ่งจะสังเกตุจากการเห็นเป็นสนิมที่จุดต่างๆ  ต้นเหตุจากความชื้นที่ปะปนเข้ามากับอากาศในถังลม เป็นสาเหตุหลัก  จึงทำให้ต้องมีการวัดความหนาของถังที่เหลืออยู่ ณ ขณะนั้น ว่ามีความสามารถในการรับแรงดัน โดยวิศวกรที่มีความชำนาญการจะประเมินให้ทราบว่าถังที่ใช้ในปัจจุบันนั้นสามารถใช้งานได้อีกกี่ปี

งานตรวจสภาพโดยทั่วไป เป็นการตรวจพินิจด้วยสายตา สภาพการผุกร่อน การบิดเบี้ยวของถัง รวมถึงสภาพการติดตั้ง การยึดติดขาถัง (saddle) รวมถึงการตรวจสอบรอยรั่วซึมตามแนวต่อต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น บริเวณ ข้อต่อ, เกลียว, วาลว์, หน้าแปลน หรือ แนวเชื่อมต่างๆ รวมทั้งการตรวจสอบการกัดกร่อยภายในถังก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการตรวจสอบภายนอก  ซึ่งสามารถทำได้โดยการเข้าไปตรวจภายใน(กรณีเข้าไปภายในถังได้) หรือการใช้เทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพ(กรณีที่ไม่สามารถเข้าตรวจสอบภายในได้)

งานทดสอบด้วยแรงดันไม่ว่าจะเป็น Hydrostatic test หรือว่า Pneumatic test จะอ้างอิงความดันทดสอบ ตาม Name plate ของถังเป็นหลัก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะต้องมีการตัดระบบออกจากไลน์ท่อเพื่อทำการปิดแนวเชื่อมต่อภายนอกทั้งหมด ซึ่งการทดสอบนี้จะเป็นการทดสอบเพื่อหาจุดรั่วไหลของถังรับแรงดันซึ่งใช้เวลาในการทดสอบอย่างน้อย 30 นาที

วาล์วนิรภัย(Safety valveเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้งานถังรับแรงดัน ซึ่งจะเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ระบายความดันออกจากถังรับแรงดันกรณีที่แรงดันเกินค่าที่กำหนดและช่วยในการลดความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยการทดสอบจะก็ถอดออกมาทดสอบเพื่อที่จะดูว่า safety valve หรือ relieve valve ยังสามารถทำงานได้ตามค่าที่ตั้งเอาไว้หรือไม่ หากทดสอบแล้ว ปรากฏว่าทำงานจริง แต่ทำงานที่ความดันไม่ตรงกับค่าที่ตั้งเอาไว้ จะต้องดำเนินการปรับตั้งค่าให้ได้ตามที่กำหนด หรือหากไม่สามารถปรับตั้งค่าได้ให้ดำเนินการเปลี่ยนทันทีก่อนที่จะใช้งานถังรับแรงดันนั้นๆ ต่อไป 

เนื่องด้วยมีกฎกระทรวงแรงงาน เรื่องกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564 ซึ่งมีผลบังคับใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมดังนี้

1.   ต้องจัดให้มีการตรวจสอบและทดสอบความปลอดภัยในการใช้ภาชนะรับความดัน ที่มีปริมาตรตั้งแต่ 1 ลูกบาศก์เมตร หรือมีความดันตั้งแต่ 5 บาร์ ขึ้นไป โดยทำการตรวจและทดสอบความปลอดภัยตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตกำหนดหรือวิศวกรกำหนด โดยทั่วไปแล้วจะดำเนินการตามมาตรฐาน API510 (Pressure Vessel Inspection Code )

2.   ต้องจัดให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้ภาชนะรับความดัน ที่มีปริมาตรน้อยกว่า 1 ลูกบาศก์เมตร หรือมีความดันน้อยกว่า 5 บาร์ โดยการตรวจพินิจด้วยสายตาและการวัดความหนาโดยวิศวกรอย่างน้อย 5 ปีต่อหนึ่งครั้ง